รณรงค์ dTC-คอตีบ บาดทะยัก อายุ 20 - 50 ปี



ข้อมูลจาก นายแพทย์รุ่งเรือง กิจผาติ ผู้อำนวยการสำนักโรคติดต่อทั่วไป กระทรวงสาธารณสุข 
 ตัวชี้วัด KPI :  ความครอบคลุมการได้รับวัคซีน dT ในประชากรผู้ใหญ่อายุ 20 - 50 ปี ไม่น้อยกว่า   ร้อยละ 85
ทำไมต้องครอบคลุม ร้อยละ 85 เพราะจากข้อมูล สถิติการวิจัยการเก็บข้อมูลของกรมควบคุมโรค พบว่า

Herd Immunity of Diphtheria = 85 %           Herd Immunity* ของ Diphtheria = ร้อยละ 85 

                  ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมควบคุมโรคมีนโยบายในการเร่งรัดและรักษาความ
ครอบคลุมวัคซีนให้สูงเพียงพอที่จะปูองกันโรคติดต่อที่ปูองกันได้ด้วยวัคซีนตามที่ทราบกันแล้วนั้น
                   โรคคอตีบเป็นโรคหนึ่งที่เป็นเป้าหมายสำาคัญ เนื่องจากเริ่มมีสัญญาณการกลับมาระบาดอีกครั้ง
                   ในปีพ.ศ. 2552 โดยพบผู้ปุวยจำานวนมากใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเด็ก สาเหตุเกิดจากไม่ได้รับวัคซีนครบถ้วนตามเกณฑ์ เนื่องจากปัญหาไม่สงบในภาคใต้
                   ต่อมาในปีพ.ศ. 2555 ได้มีการระบาดของโรคคอตีบเกิดขึ้นในผู้ใหญ่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือตอนล่างและมีแนวโน้มขยายไปยังจังหวัดอื่นๆ ส่วนใหญ่ผู้ปุวยเป็นผู้ใหญ่
                   จากการประเมินความเสี่ยงและสาเหตุของการระบาดในประชากรกลุ่มนี้พบว่า เกิดจากการ
ที่ประชาชนยังไม่มีภูมิต้านทานโรคหรือมีภูมิคุ้มกันโรคในระดับที่ไม่เพียงพอ ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นผู้ใหญ่ที่เกิด
ก่อนหรือเกิดในช่วงต้นของแผนงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค และเด็กที่ไม่ได้รับวัคซีนครบถ้วนตามเกณฑ์ นั้น
มักเป็นกลุ่มแรงงานย้ายถิ่นหรืออยู่ในพื้นที่ทุรกันดาร
                   อีกทั้งเมื่อทบทวนผลการศึกษาระดับภูมิคุ้มกันโรคจากผลการศึกษาหลายสำนัก ให้ผลตรงกันว่า
ระดับภูมิคุ้มกันต่อโรคคอตีบในประชากรไทยกลุ่มอายุต่างๆ มีแนวโน้มลดลงในกลุ่มอายุที่มากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มอายุ 20 ถึง 50 ปี
                   วัคซีนdT_ทำไมต้องฉีดในกลุ่มอายุ 20 - 50 ปี ฉีดทำไม
Why 20-50 Years dT Vaccine
                   จำนวนและร้อยละของผู้ป่วยยืนยันและเข้าข่ายโรคคอตีบในพื้นที่ที่มีการระบาด จำแนกตามกลุ่มอายุ ปี 2555 พบว่า อยู่ในกลุ่ม อายุ 20-50 ปี ถึง ร้อยละ 55
รวมทั้งมีการอพยพ ของประชากร ไปมาระหว่างกันเช่น ผู้ป่วยโรคคอตีบชาวลาวข้ามฝั่งมารักษา
ที่ประเทศไทยหลายราย  เช่นที่เชียงของ  (จังหวัดเชียงราย) ท่าลี่ (จังหวัดเลย)
การระบาดในลาวยังมีอยู่ต่อเนื่อง สปป.ลาว สหภาพพม่า  ขอรับการสนับสนุน DAT จากไทย
ช่องว่างภูมิต้านทานโรค  กลุ่มผู้ใหญ่ที่เกิดก่อนหรือเกิดในช่วงต้นของ EPI 
เด็กที่ไม่ได้รับวัคซีนหรือได้รับไม่ครบ 
พื้นที่ต่างๆที่เสี่ยง เป็นต้น
สถิติผู้ป่วยยืนยันโรคคอตีบปี 2556
            ข้อมูลยืนยันผู้ป่วยโรคคอตีบ กระทรวงสาธารณสุข ณ 21 มกราคม 2557                                       
จังหวัด   ปัตตานี   ป่วย       3          ตาย       2          อายุ       น้อยกว่า 15         ปี
จังหวัด   สงขลา   ป่วย       4          ตาย       0          อายุ       น้อยกว่า 15         ปี
จังหวัด   นราธิวาส ป่วย       3          ตาย       1          อายุ       น้อยกว่า 15         ปี
จังหวัด   สตูล      ป่วย       2          ตาย       1          อายุ       น้อยกว่า 15         ปี
จังหวัด   ยะลา     ป่วย       2          ตาย       2          อายุ       น้อยกว่า 15         ปี
จังหวัด   ตาก       ป่วย       1          ตาย       0          อายุ       น้อยกว่า 15         ปี
จังหวัด   เชียงใหม่            ป่วย       1          ตาย       1          อายุ       น้อยกว่า 15         ปี
จังหวัด   ยโสธร   ป่วย       1          ตาย       0          อายุ       มากกว่า  15         ปี
จังหวัด   อุดรธานี ป่วย       2          ตาย       0          อายุ       มากกว่า  15         ปี
จังหวัด   กทม.     ป่วย       2          ตาย       1          อายุ       น้อยกว่า และ มากกว่า       15         ปี
            ซึ่งพื้นที่เหล่านี้ เรียกว่าพื้นที่ที่มีการระบาด ต้องดำเนินการตามมาตรการดังนี้
1.     รณรงค์ ให้วัคซีน ทั้งใน เด็ก และในผู้ใหญ่
2.     เก็บตก ความครอบคลุมในเด็ก
3.     กรณีมีผู้ป่วยหรือผู้สัมผัส สอบสวนโรคตามระบบ SRRT
4.     ให้สุขศึกษาให้ครอบคลุม
5.     กำหนด ดำเนินงานตาม NPI National Program Immunization
ทำไปทำไม ทำไมจึงทำ
วัตถุประสงค์หลัก Main Objective ของการ รณรงค์ให้ dT แก่ผู้ใหญ่อายุ 20-50 ปี 1 ครั้ง คือ เพื่อเร่งให้ภูมิคุ้มกันโรคในชุมชนมีระดับสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว
และข้อมูล ร้อยละของระดับภูมิคุ้มกันต่อโรคคอตีบ ในกลุ่มอายุ 20 - 60 ปี ประเทศไทย ปี 2556
พบว่า มีค่า Seroconversion  = ร้อยละ 85
ทั้งนี้มาตรการดำเนินการในพื้นที่ในภาพรวมประกอบด้วย
1.พื้นที่ระบาด: War room, Early Diagnosis & treatment Contact case management, Mop-Up vaccination     ทุกคน, Active surveillance
2.พื้นที่สงสัย: War room, Diagnosis & treatment Contact case management, Mop-Up vaccination    เด็กต่ำกว่า 15 ปี และกลุ่มเสี่ยง เช่น ชาวเขา ต่างด้าว
3.พื้นที่เสี่ยง: War room, Diagnosis and treatment,     Mop-Up vaccination เด็กต่ำกว่า 15 ปี และกลุ่มเสี่ยง เช่น ชาวเขา ต่างด้าว
4.พื้นที่อื่นๆ: ติดตามสถานการณ์ใกล้ชิด, Diagnosis & treatment, Catch-Up vaccination เด็กต่ำกว่า 12 ปี 
มาตรการที่ได้ดำเนินงานปกติอยู่แล้ว ให้เข้มข้น ขึ้นวประเทศคือ
1.เร่งรัดตรวจสอบประวัติการได้รับวัคซีนคอตีบแก่เด็กก่อนวัยเรียนและนักเรียน   รวมทั้งติดตาม                      เด็กที่ยังไม่ได้รับวัคซีนหรือได้รับไม่ครบ ให้ได้รับวัคซีนครบถ้วนตามเกณฑ์
2. กำหนดให้วัคซีน dT ทดแทน T ในทุกกรณี เช่น หญิงมีครรภ์ กลุ่มผู้มีบาดแผล
3.  รณรงค์ให้ dT แก่ผู้ใหญ่อายุ 20-50 ปี 1 ครั้ง  เพื่อเร่งให้ภูมิคุ้มกันโรคในชุมชนมีระดับสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว
4. บรรจุการให้ dT กระตุ้นแก่ผู้ใหญ่ทุก 10 ปี ไว้ในตาราง EPI  เพื่อกระตุ้นให้ภูมิคุ้มกันคงอยู่ในระดับที่ป้องกันโรค ได้อย่างต่อเนื่อง
การดำเนินการดังกล่าว เป็นส่วนหนึ่งของ โครงการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ในโอกาสเจริญพระชนมายุ ครบ ๖๐ พรรษา   เพื่อคุ้มครองคนไทยจากโรคร้ายด้วยวัคซีน
ที่มีเป้าหมายของโครงการ 2 ประการสำคัญคือ
1. ความครอบคลุมการได้รับวัคซีน dT ในประชากรอายุ 20-50 ปี ไม่น้อยกว่าร้อยละ 85
2. ความครอบคลุมการได้รับวัคซีน MR ในประชากรเด็กอายุ     2.5 – 7 ปี ไม่น้อยกว่าร้อยละ 95
       
 ภายใต้หลักคิด การป้องกัน... แม้เพียงน้อยนิด ย่อมมีคุณค่า... กว่าการทุ่มเทอย่างมากมาย ในการรักษา


.








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น