วิสัยทัศน์/พันธกิจ



       ศูนย์สุขภาพชุมชนจะกง จะเป็นศูนย์สุขภาพที่มีมาตรฐาน

                       บริการเพื่อประชาชน  ชุมชนมีส่วนร่วม  ส่งเสริมสุขภาพดีถ้วนหน้าอย่างยั่งยืน
พันธกิจ ( Mission )

ศูนย์สุขภาพชุมชนจะกง เป็นศูนย์สุขภาพชุมชนที่ให้บริการ ด้านการส่งเสริมสุขภาพรักษาพยาบาล ป้องกันโรค ฟื้นฟูสุขภาพ อย่างมีคุณภาพและมาตรฐาน ดูแลสุขภาพประชาชนทุกกลุ่มอายุทุกกลุ่มโรคอย่างต่อเนื่อง ส่งเสริมให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดีถ้วนหน้าอย่างยั่งยืน


ประเด็นยุทธศาสตร์

            ยุทธศาสตร์ที่  เพิ่มศักยภาพสถานบริการ

            ยุทธศาสตร์ที่  พัฒนาคุณภาพการบริการ

            ยุทธศาสตร์ที่  การบริหารจัดการ

            ยุทธศาสตร์ที่  การพัฒนาบุคลากร

            ยุทธศาสตร์ที่  พัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศ

ข้อมูลทั่วไปตำบลจะกง


ประวัติความเป็นมาตำบลจะกง
          ตำบลจะกง เป็นตำบลที่ได้รับก่อตั้งพร้อมอำเภอขุขันธ์ ที่บริเวณนี้แต่ก่อนเป็นพื้นที่บ่าทึบ   ยังไม่มีใครมาจับจองต่อมาได้มีบุคคลกลุ่มหนึ่งได้เข้ามาตั้งรกรากซึ่งเป็นชนเผ่าที่เรียกตัวเองว่า กุยได้เข้ามาจับจองพื้นที่ และมีการถางป่าเพื่อให้เป็นพื้นที่เพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ ที่แห่งนี้มีหนองน้ำใหญ่และมีป่าไม้โดยรอบซึ่งเป็นที่อาศัยของสัตว์ป่า เช่น ช้าง เสือ กระทิง และสัตว์อื่นๆหลายชนิด รวมทั้งหมาป่าด้วย ซึ่งเป็นที่มาของการตั้งชื่อว่า ตำบลจะกงโดยได้มีหมาป่าฝูงหนึ่งมาอาศัยแหล่งน้ำแห่งนี้เป็นที่อยู่อาศัย ซึ่งเผ่าส่วยเรียกหมาป่าว่า อาจอจ็องกร็องดังนั้นจึงตั้งชื่อบ้านี้ว่า บ้านจ็องกร็องและเพี้ยนมาเป็นหมู่บ้านจะกงซึ่งเป็นชื่อเรียกของหมู่บ้านตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
          แต่ก่อนตำบลจะกงมีอาณาเขตกว้างขวางมาก โดยมีตำบลตะเคียน ตำบลลมศักดิ์ และตำบลกฤษณา รวมกันเป็นตำบลจะกง โดยมีนายประสิทธิ์ เสาสุด เป็นกำนันคนปัจจุบัน มีหมู่บ้านในเขตการปกครอง 13 หมู่บ้าน

ประวัติความเป็นมาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจะกง
          เมื่อปี พ.ศ.2524 ได้มีการจัดตั้งสถานีอนามัยขึ้นที่บ้านจะกง เพื่อดูแลภาวะสุขภาพของคนในชุมชนบนพื้นที่ 2 ไร่ 2 งาน 9 ตารางวา เดิมเป็นอาคารไม้ 1 ชั้น โดยขณะนั้นมีนายสำราญ  บุญส่งเป็นหัวหน้า 
        ปี พ.ศ.2542 สถานีอนามัยได้รับงบประมาณจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ ก่อสร้างอาคารตามแบบ เลขที่ 8170/36 ในการก่อสร้างอาคารหลังใหม่ทดแทนอาคารหลังเดิมที่ชำรุดทรุดโทรม
          ปี พ.. 2545 ได้จัดทำรั้วรอบสถานีอนามัยปรับปรุงพื้นที่โดยการถมดินและจัดทำสวน
หย่อมหน้าสถานีอนามัยโดยได้รับเงินบริจาคจากการจัดทำผ้าป่าข้าวเปลือกจากประชาชนและคณะอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลจะกง
ปี พ.ศ. 2551 ต่อมาสถานีอนามัยได้รับการพัฒนาศักยภาพการบริการ เป็นศูนย์สุขภาพชุมชน(PCU) คลอบคลุมการให้บริการทั้ง 4 ด้าน คือ การรักษาพยาบาล การส่งเสริมสุขภาพ การฟื้นฟูสุขภาพและการป้องกันโรค ในวันที่ 1 มิถุนายน 2551  
ปี 2552 สถานีอนามัยจะกงได้รับการยกระดับให้เป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจะกงตาม นโยบายของกระทรวงสาธารณสุข
รายชื่อหัวหน้าสถานีอนามัย
          1. นายสำราญ  บุญส่ง                                 พ.ศ.2524 – พ.ศ. 2529
          2. น.ส.ปรีชาภรณ์  รัตโน                              พ.ศ.2529 – พ.ศ. 2531
          3. น.ส.วรรณภา  บุญมา                                พ.ศ.2532 – พ.ศ. 2537
          4. นายสำราญ บุญส่ง                                  พ.ศ.2538 – พ.ศ. 2542
5. นายประหยัด  อินแพง                              พ.ศ.2542 – พ.ศ. 2550
          6. นายศุภกฤต  ยุทธเลิศ                               พ.ศ.2550 – พ.ศ. 2555
          7. นายนพดล  ศรีอินทร์                                พ.ศ.2555 – ส.ค. 2556
          8. นายสมัย จำปา                                       2 ก.ย.56  -  ปัจจุบัน
ข้อมูลทั่วไป
          สถานที่ตั้ง
          โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจะกง ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่หมู่ 2 บ้านจะกง ตำบลจะกง อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ โดยอยู่ในเขตขององค์การบริหารส่วนตำบลจะกง อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนืออำเภอ      ขุขันธ์ ระยะห่างจากอำเภอขุขันธ์ประมาณ 18 กิโลเมตร  ห่างจากโรงพยาบาลขุขันธ์ 23  กิโลเมตร และ     อยู่ห่างจากตัวจังหวัดศรีสะเกษ ประมาณ 40  กิโลเมตร
เขตความรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจะกง ครอบคลุมพื้นที่ของตำบล จะกง จำนวน 13 หมู่บ้าน คิดเป็นเนื้อที่ 46,891 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 29,307 ไร่ ความหนาแน่นประชากร 136.7 คน/ตารางกิโลเมตร 

อาณาเขตติดต่อ
·     ทิศเหนือ               ติดต่อกับ         ตำบลกฤษณา  อำเภอขุขันธ์
·     ทิศใต้                  ติดต่อกับ         ตำบลตะเคียน  อำเภอขุขันธ์
·       ทิศตะวันออก         ติดต่อกับ         ตำบลดินแดง  อำเภอไพรบึง
·       ทิศตะวันตก           ติดต่อกับ         ตำบลดองกำเม็ด ตำบลหัวเสือ อำเภอขุขันธ์
จำนวนสถาบันการศึกษาและส่วนราชการ
·       โรงเรียนประถมศึกษา                    จำนวน 1  โรงเรียน
·       โรงเรียนประถมศึกษา ขยายโอกาส      จำนวน 3  โรงเรียน
·       ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก                       จำนวน 2  โรงเรียน
·       สถานีตำรวจ                             จำนวน 1  แห่ง
สังคมและวัฒนธรรม
          ประชาชนส่วนใหญ่ใช้ภาษาส่วยเป็นภาษาท้องถิ่น ในการสื่อสาร รองลงมาคือภาษาเขมร และไทยอิสาน นับถือศาสนาพุทธ ยึดถือขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่น
เศรษฐกิจ
          ประชาชนส่วนใหญ่ ประกอบอาชีพทำนา และปลูกพืชเศรษฐกิจนอกฤดูกาล และบางส่วนไปรับจ้างแรงงานต่างจังหวัด